วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

วันครู

ประวัติความเป็นมาของการจัดงานวันครู

      ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศ ถึงความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครู และเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูทั่วไป
     ดังนั้น ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู
     วันครูได้จัดให้มีในครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า "คุรุสภา" เป็นนิติบุคคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
     ในทุก ๆ ปี คุรุสภาได้ให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย

คำปฏิญาณ
ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่น
ประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการ สุดท้ายกล่าวปรา
ศรัยกับคณะครูที่มาประชุม
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันครู


     1. ร่วมกิจกรรมทางศาสนา ทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ กรวดน้ำอุทิศส่วน
กุศลให้แกบรรดาบูรพาจารย์ผู้ล่วงลับ
     2. ส่งบัตรอวยพร หรือไปเยี่ยมเยือนครูอาจารย์ที่เคยให้ความรู้อบรมสั่ง
สอน เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดี และแสดงความกตัญญูกตเวที
     3. ร่วมพิธีบูชาบูรพาจารย์
     4. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น นิทรรศการเกี่ยวกับครู การเรียนการ
สอน หรือกิจกรรมการกุศลที่หารายได้สมทบกองทุนช่วยเหลือครู เป็นต้น

บทสวดเคารพครูอาจารย์

     (สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ(รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาส
กา
ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เตทินฺโนวาเท นมามิหํ
 (สวดทำนองสรภัญญะ)
      (สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์
โอบเอื้อและเจือจุนอนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
     ยัง บ ทราบก็ได้ทราบทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปันขยายอรรถให้ชัดเจน
     จิตมากด้วยเมตตาและกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ให้ฉลาดและแหลมคม
     ขจัดเขลาบรรเทาโมหะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์ก็สว่างกระจ่างใจ
     คุณส่วนนี้ควรนับ
ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน
จิตน้อมนิยมชม
(กราบ)
คุณสมบัติของครูอาจารย์ที่ดี
                                                                               

   

1. ประพฤติตัวให้เป็นที่รัก (ปิโย)
2. มีใจหนักแน่นทำตนให้น่ายำเกรง (ครุ)
3. อบรมตนเองสม่ำเสมอ (ภาวนีโย)
4. ฉลาดสอน ฉลาดพูด (วตฺตา)
5. อดทนต่อถ้อยคำล่วงเกิน (วจนกฺขโม)
6. พูดเรื่องลึกซึ้งให้เข้าใจลึกซึ้งได้ (คมฺภีรํ กถํ กตฺตา)
7. ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสียหาย (โน จฎฺฐาเน นิโยชเย)

หน้าที่ของครูอาจารย์พึงมีต่อศิษย์

1. แนะนำดี
2. ให้เรียนดี
3. บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง
4. ยกย่องให้ปรากฎในเพื่อนฝูง
5. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย

หน้าที่ของศิษย์พึงมีต่อครูอาจารย์

1. ให้การต้อนรับ
2. เสนอตัวรับใช้
3. เชื่อฟัง
4. คอยปรนนิบัติ
5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น